“ปลาช่อนยักษ์อเมซอน” ตัวทำลายระบบนิเวศ

เพจเฟซบุ๊ก “เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามัน” ได้โพสต์ภาพ ชายคนหนึ่งกำลังปล่อย ปลาช่อนอเมซอน ที่หนองกะทิง จ.ลำปาง

ทำให้มีคนออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระเช่นนี้ว่า ไม่เหมาะสมเพราะปลาช่อนอเมซอนเป็นปลาที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย อาจทำให้กระทบปลาท้องถิ่นได้และระบบนิเวศในแม่น้ำได้ เนื่องจากเป็นปลาที่ตัวใหญ่ กินเนื้อ เรียกได้ว่าอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร อาจทำให้ปลาท้องถิ่นหมดไปจากแหล่งน้ำได้ และทางพีพีทีวีจะพามารู้จักกับปลาชนิดนี้

ปลาอะราไพม่า หรือปลาช่อนยักษ์อเมซอน มีต้นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ลุ่มน้ำแอมะซอน ขนาดใหญ่ที่สุดของปลาชนิดนี้มีขนาด 4 เมตร หนัก 400 กิโลกรัม อาศัยในแหล่งน้ำตื้น กินสัตว์น้ำ พืชน้ำ และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ลิง นก ที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ อายุของปลาช่อนยักษ์อเมซอนเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 20 ปี เป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงและเป็นปลาที่ไวต่อสารปนเปื้อน ในน้ำมากถ้าในแหล่งน้ำที่อาศัยอยู่มีสารเคมีปนเปื้อนหรือผิดปกติไปปลาชนิดนี้จะอยู่ไม่ได้

โดยประเทศไทยได้นำเข้าปลาชนิดนี้มาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งปลาอะราไพม่า จะมีพฤติกรรมการกินอาหารที่ดูดุร้ายแต่เมื่อนำมาเลี้ยง ในสถานที่เลี้ยงแล้วกลับไม่มี พฤติกรรมดุร้ายกับผู้เลี้ยงสามารถลงไปไล่จับเล่นได้โดยที่ปลา ไม่ทำอันตรายใด ๆ ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในบ่อดินขนาดใหญ่ได้แล้ว และมีคนไทยจำนวนหนึ่ง กำลังทดลองเลี้ยงเป็น เพื่อบริโภคขายซึ่งเป็นปลาที่โตเร็ว และเนื้อมีราคาแพง อาจนำมาทดแทนเนื้อ ปลาช่อนทั่วไปได้

อย่างไรก็ตาม การนำปลาช่อนอเมซอนมาปล่อยในแม่น้ำจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ เพราะการกินอาหารที่ดุร้าย กินทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำจะทำให้ปลาในท้องถิ่นลดลง จนหมดไป