แนวทางการสนับสนุนรถไฟฟ้าของรัฐบาลในต่างประเทศเป็นอย่างไรบ้าง

โดยทางคุณ Wanchai Meesiri ผู้ที่บอกว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ได้ให้เหตุผลสำคัญ 2 อย่างที่ราคาสูงว่า ราคาแบตเตอรี่ยังมีราคาสูงอยู่ คิดต้นทุนเป็น 50% ของราคารถ และนโยบายของรัฐยังไม่พร้อมที่จะสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล จนกว่าถึง ปี 2564 และนโยบายของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์จะไปเริ่มใน ปี 2566 หรืออีกประมาณ 5-7 ปี ข้างหน้า หมายถึงว่าช่วงนี้จะยังไม่มีการสนับสนุนใดๆ ที่จะส่งผลให้ต้นทุนของยานยนต์ไฟฟ้าลดต่ำลงมา หลายคนจึงมีข้อสงสัยว่า แล้วที่ต่างประเทศล่ะ เขามีการสนับสนุนหรือเปล่า และสนับสนุนในรูปแบบใดบ้าง วันนี้ทีมงาน Autodeft เลยขอยกเป็นตัวอย่างมาฝากกันครับ https://starvegas-slot.com/

– สาธารณรัฐประชาชนจีน

ประเทศจีนกำลังประสบปัญหาเนื่องจากหมอกควันพิษจากรถยนต์ตามหัวเมืองใหญ่ จนบางครั้งทัศนวิสัยไม่เกิน 100 เมตรด้วยซ้ำ จนทำให้รัฐบาลจีนจริงจังมากในการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ระบบ Hybrid เพื่อทดแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันให้มากและเร็วที่สุด ซึ่งช่วงแรกในการส่งเสริม เมื่อปี 2010 รัฐบาลจีนชดเชยค่าแบตเตอรี่ให้กับทุกคนที่ซื้อรถยนต์ระบบไฟฟ้า โดยรถยนต์ไฟฟ้า จะชดเชยให้ 60,000 หยวน (ประมาณ 309,000 บาท) ส่วนรถยนต์ Hybrid ชดเชยให้ 50,000 หยวน (ประมาณ 257,000 บาท) เริ่มที่ 5 เมืองใหญ่คือ เซี่ยงไฮ้, เสิ่นเจิ้น, หางโจว, ฉางชุน และ เหอเฟย โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะมียอดจำหน่ายประมาณ 50,000 คัน แต่แล้วกลับมียอดขายเพียง 8,159 คันเท่านั้น ทางรัฐบาลจีนจึงมีการแก้ไขใหม่ โดยตั้งเงินชดเชยสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลไว้สูงสุด 9,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 350,000 บาท) และรถบัสโดยสารไว้สูงสุด 81,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 2.91 ล้านบาท) และเปิดให้รับสิทธิ์ได้ทั่วประเทศ เลยทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งระบบไฟฟ้าและ Hybrid ช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2014 มียอดจำหน่ายถึง 31,137 คัน เพิ่มขึ้น 328% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2013 เลยทีเดียว และในปัจจุบันทางรัฐบาลจีนก็ยังคงสนับสนุนอยู่เช่นเดิม

– ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกๆที่ทำการผลิตรถยนต์แบบไฟฟ้า Hybrid ออกมาวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่สิ่งสำคัญในการเติบโต ส่วนหนึ่งก็มาจากการสนับสนุนของรัฐบาลอีกด้วย โดยเมื่อปี 1996 มีการสนับสนุนชดเชยราคาส่วนต่างระหว่างรถยนต์พลังงานไฟฟ้า, Hybrid, ก๊าซธรรมชาติ หรือ เมทานอล กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันปกติ ให้สูงสุด 50% จนถึงปี 2003 จึงยกเลิกนโยบายไป จากนั้นช่วงปี 2009 – 2012 มีการสนับสนุนหลักๆด้วยมาตรการทางภาษี ทั้งภาษีการซื้อขายที่ลดให้ 1.6% – 2.7% หรือระหว่าง 150,000 – 300.000 เยน (ประมาณ 46,000 – 92,000 บาท) สำหรับรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า, Fuel Cell, Plug-In Hybrid, Hybrid, ดีเซลสะอาด และก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งยังมีการลดภาษีประจำปีให้ 50% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงปี 2009-2010 ด้วย และต่อมาก็มีมาตรการเงินชดเชยสำหรับคนที่ซื้อรถใหม่ที่เป็นแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นขนาดเล็กและขนาดมาตรฐานรับ 100,000 เยน (30,000 บาท) รถขนาดจิ๋วและ Kei Car รับ 50,000 เยน (15,000 บาท) ส่วนรถบรรทุกและรถบัส จะได้รับระหว่าง 400,000 – 1,800,000 เยน (122,000 – 553,000 บาท)

– เกาหลีใต้

ในเดือนกรกฎาคม 2016 ทางรัฐบาลเกาหลีได้ประกาศแผนส่งเสริมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น ด้วยมาตรการหลายอย่าง ทั้งลดภาษีซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 14 ล้านวอน (ประมาณ 416,000 บาท) รวมทั้งได้สิทธิ์ในการซื้อประกันภัยในราคาพิเศษ, ส่วนลดค่าที่จอดรถและทางด่วน และทางรัฐบาลยังเพิ่มแผนงานในการสร้างสถานีเติมไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วให้มีทุกๆ 2 กิโลเมตรในกรุงโซล และอีก 30,000 สถานีชาร์จแบบช้าติดตามอพาร์ทเม้นท์ 4,000 แห่งทั่วประเทศภายในปี 2020

– นอร์เวย์

นอร์เวย์ ถือเป็นอีกประเทศที่มีการส่งเสริมการใช้งานพลังงานสะอาด โดยเฉพาะรถยนต์ ที่มีการส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ ทั้งไม่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 25% ของราคารถ, ไม่เก็บค่าทางพิเศษ, ไม่เก็บค่าจอดรถในที่จอดของรัฐ, ใช้งานบัสเลนได้ในชั่วโมงเร่งด่วน และนำรถยนต์ขึ้นเรือเฟอร์รี่ได้ฟรี จนปัจจุบันมีรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนแล้วกว่า 100,000 คัน ถือเป็นประเทศที่มีรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลกไปแล้ว

– ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเริ่มมีนโยบายการลดมลพิษจากไอเสียตั้งแต่ปี 2008 แต่ที่เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าจริงๆจะเริ่มช่วงปี 2012 เป็นต้นมา เริ่มต้นด้วยเงินชดเชยพิเศษให้สำหรับรถที่ปล่อยไอเสียไม่เกิน 125 กรัม/กิโลเมตร รับเงินชดเชย 20% ของราคารถแต่ไม่เกิน 2,000 ยูโร (ประมาณ 75,400 บาท) และรถที่ปล่อยไอเสียไม่เกิน 60 กรัม/กิโลเมตร รับเงินชดเชย 20% ของราคารถแต่ไม่เกิน 5,000 ยูโร (ประมาณ 188,600 บาท) แต่ภายหลังได้เพิ่มเงินชดเชยสำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 30% ของราคารถแต่ไม่เกิน 7,000 ยูโร (ประมาณ 264,000 บาท) และเมื่อถึงปี 2015 ได้ปรันโยบายใหม่ให้คนเปลี่ยนจากเครื่องดีเซลมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ด้วยการชดเชยการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าใหม่จำนวน 6,300 ยูโร (ประมาณ 237,000 บาท) และถ้านำรถยนต์เครื่องดีเซลรุ่นที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2001 มาแลก จะเพิ่มเงินชดเชยให้อีก 3,700 ยูโร (ประมาณ 139,600 บาท) และนโยบายล่าสุดที่เพิ่งเริ่มต้นในปี 2017 นั้น ถึงจะมีการลดการจ่ายชดเชยการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจาก 6,300 ยูโรเป็น 6,000 ยูโร (ประมาณ 226,000 บาท) แต่มีการเพิ่มเงินชดเชยสำหรับคนที่นำรถยนต์เครื่องดีเซลที่มีอายุการใช้งานเกิน 10 ปีมาแลก เพิ่มให้เป็น 4,000 ยูโรแทน (ประมาณ 150,000 บาท)

– เยอรมนี

ทางการเยอรมนีประกาศอย่างชัดเจนว่าจะเป็นผู้นำตลาดด้านรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ โดยตั้งเป้าหมายว่าบนถนนจะมีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งอยู่ 1 ล้านคันภายในปี 2020 เริ่มต้นด้วยการงดเก็บภาษีรถยนต์รายปีจำนวน 5 ปี ก่อนจะมาเพิ่มเป็น 10 ปีเมื่อ 1 มกราคม 2016 และช่วยชดเชยในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับใช้ส่วนตัวไว้สูงสุด 5,000 ยูโร (ประมาณ 188,600 บาท) และรถยนต์ของบริษัทรับเงินชดเลย 3,000 ยูโร (ประมาณ 113,000 บาท) และจะลดลงปีละ 500 ยูโรทุกปีจนกว่าจะหมด เริ่มต้นนับตังแต่กุมภาพันธ์ 2016 แถมในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน Nissan ยุโรปยังประกาศส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยการให้ส่วนลดของผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของ Nissan ทุกคันเท่ากับเงินที่ทางรัฐบาลเยอรมนีชดเชยให้จนกว่าจะครบมาตรการเช่นกัน

– เนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์ ตั้งเป้าว่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าบนถนนให้ได้ 1 ล้านคันภายในปี 2025 โดยเริ่มมาตรการแรกด้วยการงดเก็บภาษีจดทะเบียนรถยนต์และภาษีประจำปี ถ้าเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลงดเว้นให้ 4 ปี เฉลี่ยจะลดค่าใช้จ่ายได้รวม 5,324 ยูโร (ประมาณ 200,000 บาท) และรถยนต์ขององค์กรรวม 5 ปี ลดได้ประมาณ 19,000 ยูโร (ประมาณ 716,000 บาท) แถมยังมีนโยบายสำหรับผู้ที่นำไปซื้อรถไฟฟ้าเพื่อทำ Taxi และรถ Van ขนส่งคน โดยจะมีเงินชดเชยให้ 3,000 ยูโร (ประมาณ 113,000 บาท) รวมทั้งในเมืองอัมสเตอร์ดัม ยังมีที่จอดรถพิเศษสำรับรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ, ชาร์จไฟฟ้าฟรีในที่จอดรถสาธารณะ ส่วนที่เมืองร็อตเตอร์ดัม มีที่จอดรถให้ฟรีใจกลางเมืองนาน 1 ปี และชดเชยค่าติดตั้งแท่นชาร์จที่บ้าน 1,450 ยูโร (ประมาณ 54,700 บาท)